การทำงานของ Search Engine

                    การค้นหาข้อมูลของ Search Engine สำหรับการทำงานของ Search Engine นั้น จริงๆแล้วมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยูกับว่าทางศูนย์นั้นๆต้องการจะเก็บข้อมูลประเภทไหน แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ถ้าจะต่างก็คงเป็นเรื่องของประสิทธิภาพมากกว่า ว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้มากน้อยแค่ไหน และพอจะเอามาให้บริการกับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือไม่ ซึ่งวันนี้ ผู้เขียนได้ไปรวบรวมวิธีการและปัจจัยต่างๆ ในการค้นหาของ Search Engine มาฝาก… 

 1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ ดังภาพ search engine 


2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้านซ้ายบน ของหน้าต่างที่แสดง)
 3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
 4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
 5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขั้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ





        Search Engine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆ ในการสืบค้นเพื่อช่วยผู้ใช้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
 1. วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์ Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือ About เช่น Yahoo มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ โดย

1.1 ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น

1.2 ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏ คำทั้งสองคำ เช่น Secondary + education

1.3 ใช้เครื่องหมาย “ ” สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น “great barrier reaf” ฯลฯ

 2. การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ AND OR NOT เข้าช่วยในการ กำหนดคำค้น เพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

2.1 การใช้ AND การกำหนดใช้ AND จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยว ข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soil การกำหนดแบบนี้หมายความว่า
 1. ผลการค้นต้องการ คือ เฉพาะรายการที่มีคำว่า water และ soil เท่านั้น
 2. หากรายการใดที่มีแต่คำว่า water หรือ soil ไม่ต้องการ


2.2 การใช้คำว่า OR การใช้ OR เป็นการขยายคำค้น โดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกัน หรือสามารถสะกดได้หลายแบบ


2.3 การใช้ NOT การใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามา คือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหา ส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่ โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่น water not soil การกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
1. ให้ค้นหารายการที่มีคำว่า water แต่หากรายการใดมีคำว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ
 2. ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคำว่า water และหากมีคำว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ